ประวัติความเป็นมา
ประวัติความเป็นมา
ตำนานที่เล่าต่อกันมานาน มีหมู่บ้านอยู่หมู่หนึ่ง ห่างจากที่ทำการอำเภอขามทะเลสอ ออกไปทางทิศตะวันออก ประมาณ 5 กิโลเมตร ชื่อว่า “บ้านขามทะเลสอ” หมู่บ้านดังกล่าวนี้ตั้งอยู่ริมฝั่งแห่งหนึ่ง อยู่ทิศตะวันออกของหมู่บ้าน ซึ่งบึงแห่งนี้ในฤดูแล้งนี้จะแห้ง และเมื่อน้ำแห้งสนิทในบึงจะเป็นสีขาว มีลักษณะคล้ายดินสอพอง จนชาวบ้านเรียกติดปากว่า “ดินสอ” หรือ “ สอ” เมื่อน้ำในบึงแห้งลงไปถึงบริเวณไหนดินบริเวณนั้นจะกลายเป็นสีขาวทั่วทั้งบึง มองดูกว้างไกลคล้ายทะเลชาวบ้าน
เรียกบึงนี้ว่า “บึงขามทะเลสอ” และต่อมาได้มีผู้เอาชื่อบ้านกับบึงมารวมกัน แล้วเรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ บ้านขามทะเลสอ” จนทุกวันนี้ เดิมนั้นหมู่บ้านขามทะเลสอ อยู่ในเขต
การปกครองของอำเภอโนนไทย เมื่อมีประชาชนมาอยู่รวมกันมากขึ้นก็ได้ยกฐานะ เป็นตำบลขามทะเลสอ ในปี พ.ศ. 2466 ได้ย้ายเขตการปกครองไปขึ้นกับอำเภอสูงเนิน ในปี พ.ศ.2501 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศยกฐานะตำบลขามทะเลสอขึ้นเป็นกิ่งอำเภอขามทะเลสอ ประกอบด้วยตำบลขามทะเลสอและตำบลโป่งแดง ต่อมาปี พ.ศ. 2508 ก็ได้มีพระราชฎีกายกฐานะเป็นอำเภอขามทะเลสอ โดยได้แบ่งเอาตำบลหนองสรวงและตำบลพันดุง ซึ่งเดิมอยู่ในเขตการปกครองอำเภอโนนไทยมาขึ้นกับ
อำเภอขามทะเลสอ ต่อมาในปี 2525 ได้แยกพื้นที่ของตำบลหนองสรวงและตำบลพันดุงบางส่วนตั้งเป็นตำบลบึงอ้อในปัจจุบัน
สภาพทั่วไปของตำบล
ตำบลขามทะเลสอ เป็นตำบลหนึ่งของอำเภอขามทะเลสอ ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลขามทะเลสอ ตามมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ประกาศ ณ วันที่ 16 ธันวาคม 2539 ลำดับที่ 1045
ที่ตั้งและขนาด
องค์การบริหารส่วนตำบลขามทะเลสอ กระทรวงมหาดไทย ประกาศจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 โดยอาศัยอำนาจ
ตามความในมาตรา 40 และมาตรา 41 แห่งพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ. 2537 อาณาเขตของตำบลขามทะเลสอ มีพื้นที่ทั้งหมด 39 ตารางกิโลเมตร หรือ 24,500 ไร่ โดยแบ่งเป็นพื้นที่ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลขามทะเลสอ 34.04 ตารางกิโลเมตร หรือ 21,275 ไร่ และพื้นที่เทศบาลตำบล
ขามทะเลสอ 5.16 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 3,225 ไร่ โดยตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของอำเภอขามทะเลสอ มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญได้แก่ ทางหลวงจังหวัดนครราชสีมา หมายเลข 2068 ถนนโคกกรวด – โนนไทย ซึ่งแยกจากเขตทางหลวงแผ่นดินสายมิตรภาพ ที่ตำบลโคกกรวด
มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลใกล้เคียง ดังนี้
ทิศเหนือ | จดตำบลบึงอ้อ | อำเภอขามทะเลสอ | ||
ทิศใต้ | จดตำบลโคกกรวด | อำเภอเมืองนครราชสีมา | ||
ทิศตะวันออก | จดตำบลพลกรัง | อำเภอเมืองนครราชสีมา | ||
ทิศตะวันตก | จดตำบลโป่งแดง | อำเภอขามทะเลสอ | ||
เขตการปกครอง
ตำบลขามทะเลสอ แบ่งเขตการปกครอง 9 หมู่บ้าน
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. เต็มทุกหมู่บ้าน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 1,5,6,8 และหมู่ที่ 9
- จำนวนหมู่บ้านในเขต อบต. บางส่วน 4 หมู่ ได้แก่ หมู่ที่ 2,3,4 และหมู่ที่ 7
ท้องถิ่นอื่น ๆ ในตำบล
- จำนวนเทศบาล 1 แห่ง ได้แก่ เทศบาลตำบลขามทะเลสอ
ลักษณะภูมิประเทศ
ตำบลขามทะเลสอ ด้านทิศเหนือ พื้นที่โดยทั่วไปจะเป็นที่ดอน และเป็นที่ลูกคลื่นลอนลาดเล็กน้อยถึงที่ราบ ซึ่งมีความสูงจากน้ำทะเลประมาณ 200 – 209 เมตร ทางทิศเหนือจะเป็นที่ดอน มีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 210 – 227 เมตร และปริมาณตอนกลางของตำบลจะเป็นที่ดอนเล็กน้อยถึงที่ราบจะมีความสูงจากระดับ
น้ำทะเลประมาณ 190 – 195 เมตร ส่วนด้านทิศใต้และทิศตะวันออกของตำบล เป็นพื้นที่ราบลุ่มจะมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 185 เมตร และมีคลองบริบูรณ์
์ที่ชาวบ้านเรียกว่า ระลม และคลองมอญ คลองขากบ ลำตะคลองไหลผ่าน นอกจากนี้ยังมีการขุดคลองชลประทานผ่านพื้นที่ของเกษตรกรทำให้พื้นที่บริเวณนั้นเหมาะสม
ในการทำนา ทำไร่นาสวนผสม และมีการปลูกพืชฤดูแล้ง
สภาพภูมิอากาศ
ฤดูกาลในตำบลขามทะเลสอ มี 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน จะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึง เดือนเมษายน และในเดือนเมษายน จะเป็นเดือนที่ร้อนที่สุด
- ฤดูฝน จะเริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ฝนจะตกชุกในเดือนกันยายน และจะหมดฤดูฝนก็ประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน
- ฤดูหนาว ก็จะเริ่มประมาณเดือนพฤศจิกายน จนถึงต้นเดือนกุมภาพันธ์อากาศก็จะหายหนาวและเย็น
ลักษณะดิน
ดินบริเวณตำบลขามทะเลสอส่วนใหญ่มีวัตถุที่กำเนิดมาจากตะกอนน้ำเก่าที่มีเนื้อที่หยาบหรือปานกลาง บางแห่งพบศิลาแลงด้วย เป็นดินลึก ลักษณะี้เป็นดินร่วน
ปนทรายปฏิกิริยาเป็นกรดเล็กน้อย ส่วนดินกลางมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทราย ปฏิกิริยาเป็นกรดจัดมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ มีการระบายน้ำดีปานกลางถึงดี มีความ
สามารถให้น้ำซึมผ่านปานกลาง ข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ที่ดินควรจัดเป็นพื้นที่ปลูกพืชอย่างถาวร สามารถปลูกพืชไร่หรือไม้ผลต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี พืชไร่ที่แนะนำ
ให้ปลูกได้แก่ ปอ ถั่วต่าง ๆ แตงโม อ้อย สับปะรด และมันสำปะหลัง มีการใช้ปุ๋ยในอัตราที่เหมาะสมและมีการจัดการที่ดีแล้ว ต้องมีมาตรการในการอนุรักษ์ดินที่ดี
อีกด้วย เช่น ปลูกตามแนวระดับและการทำขั้นบันได หรือคันดิน ในบริเวณที่อาศัยน้ำฝนสำหรับเพาะปลูกเพราะมักประสบภาวะแห้งแล้งอยู่เสมอ